วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เรียนลัด Elliott Wave

ก่อนอื่นขอขอบคุณ i_woottichai เจ้าของเว็บ  www.advance-elliottwave.com ที่นำความรู้ดี ๆ มาให้พวกเราได้อ่านกัน เรามาเริ่มเรียนรู้กันเลยครับ


ชื่อโีปรเจ็ค

Briefly Elliott Wave Method

วัตถุประสงค์และเป้าหมาย

1.) เพื่อให้ผู้ที่สนใจแนวคิดทฤษฎี Elliott Wave แต่ไม่ต้องการศึกษาทฤษฎีซึ่งมีความสลับซับซ้อนทั้งหมด ได้ใช้งานและเห็นภาพ Concept ของ Elliott Wave ได้ง่ายขึ้น

2.) เพื่อให้ผู้ที่เริ่มต้นศึกษา Elliott Wave ได้มองเห็นภาพของตัวทฤษฎีได้ชัดเจนขึ้นเพื่อให้ง่ายแก่การศึกษาในอนาคต

3.) เพื่อให้ผู้ที่มีความรู้ในตัวทฤษฎีดีอยู่แล้วแต่ยังไม่สามารถใช้งานในสถานการณ์จริงได้ ได้เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาไอเดียร์ในการใช้งานจริง

4.) เพื่ออธิบายข้อถกเถียงในหลายๆกรณีเช่น อีเลียตเวฟใช้งานจริงไม่ได้ อีเลียตเวฟตรวจสอบไม่ได้ แต่ละคนนับไม่เหมือนกันเป็นต้น โดยแนวคิดหรือ Concept ของ Briefly Elliott Wave Method นี้จะเป็นเครื่องมืออธิบายข้อถกเถียงเหล่านั้นได้ง่ายและกระชับที่สุด


วิธีการนี้เป็นวิธีการหา สภาวะตลาดhttp://www.advance-elliottwave.com/index.php/otherarticle003.html รวมถึงการตั้งสมมติฐานในทฤษฎี Elliott Wave ด้วย แต่วิธีการของ Elliott Wave นั้นค่อนข้างที่จะมีรายละเอียดและขั้นตอนที่ซับซ้อนกว่านี้มาก เพราะต้องหารูปแบบที่จบไปแล้วเพื่อที่จะคำนวณหา Effect ของมัน นอกจากนั้นยังต้องหารูปแบบการปรับตัว (Correction) เพื่อคำนวณหา Effect และตรวจสอบการจบ ตรวจสอบความถูกต้องของรูปแบบเพื่อคำนวณหาจุดเข้าออก

วิธีการ Briefly Elliott Wave Method นี้ผมตัดขั้นตอนต่างๆออกโดยยังคงกลิ่นอายของความเป็น Elliott Wave เอาใว้ด้วยขั้นตอนการหาระดับของ Degree แบบง่ายๆแต่ทว่ามีประสิทธิภาพ ตามแนวคิดการทำกำไรของ Elliott Wave คือเราจะทำกำไรในช่วงที่แนวโน้มอยู่ในสภาวะแข็งแกร่งคือในช่วงของคลื่น 3 หรือคลื่น C ถ้าใครที่ศึกษา Elliott Wave จะไม่ค่อยมีปัญหาในการยืนยันคลื่น 3 หรือคลื่น C แต่สำหรับคนที่ไม่ได้ศึกษามาทางนี้เป็นไปไม่ได้ที่จะยืนยันคลื่นต่างๆได้ อย่างถูกต้อง ผมจึงทำแนวทางในการศึกษาแบบง่ายๆให้ลองศึกษากันดูเพื่อเป็นไอเดีย แต่ก่อนจะไปที่หลักการดังว่าให้ศึกษาเรื่อง สภาวะตลาด และ Fibonacci Relationships แบบ Internal Relationshipshttp://www.advance-elliottwave.com/index.php/fibo.html และอย่าลืม Elliott Wave เบื้องต้นhttp://www.advance-elliottwave.com/index.php/elliotwavelesson/basic/50-introduce-and-basic-elliottwave.html ก่อนครับ


- ทฤษฎี Briefly Elliott Wave Method นี้มีแบบแผนมาจากทฤษฎี Elliott Wave ก็จริงแต่ก็ยังไม่ใช่ Elliott Wave โดยแท้ เพื่อไม่ให้เป็นการสับสนผมจึงไม่ใช้สัญลักษณ์ที่ใช้ใน Elliott Wave มาอธิบาย

- ทฤษฎีนี้ใช้ใด้กับทุก Time Frame ขึ้นอยู่กับว่ารูปแบบเกิดขึ้นที่ Time Frame ไหนเป็นสำคัญ

- ผมอธิบายเฉพาะขาขึ้นเท่านั้น ขาลงก็ให้ใช้วิธีส่องกระจกเอาครับ (mirror)

- Briefly Elliott Wave Method ถือเป็นทรัพย์สินของ www.advance-elliottwave.com จะดีมากๆหากการนำไปเผยแพร่ต่อนั้นให้เครดิตกับ www.advance-elliottwave.com จักขอบพระคุณมากครับ



ขั้นตอน

1. Important High-Low นั้นมีวิธีการดูหลายแบบเช่น ที่จุดสูงเก่า-ต่ำเก่า, ตัวเลข Fibo 38.2% 61.8% หรือเครื่องมือต่างๆที่สามารถบอกแนวรับ-แนวต้านได้

2. Step 1 ขั้นตอนนี้คุณต้องมองการปรับฐานให้ออก การปรับฐานนั้นมีทั้งการปรับฐานใหญ่และปรับฐานย่อยต้องมองให้ออกก่อน วิธีการก็คือให้ดูที่ขนาดของมันทั้งในแง่ของเวลาและราคาแล้วจับมันเอาใว้ เป็นกลุ่มๆ ใหญ่อยู่กลุ่มใหญ่ เล็กอยู่กลุ่มเล็ก ดังรูปปรับฐานย่อยคือเส้นประสีแดง ปรับฐานใหญ่คือในกรอบสีเขียว เมื่อราคาวิ่งลงมาถึงจุดต่ำสุดที่มีนัยสำคัญและเงยหัวขึ้นมากลายเป็น Segment X ให้รอก่อนเพราะคุณจะไม่มีทางรู้ได้ว่าแนวโน้มจะเปลี่ยนเป็นขึ้นจริงหรือไม่ อาจเป็นแค่การปรับฐานของขาลงแล้ววิ่งลงต่อก็ได้ จากนั้นปล่อยให้ราคาปรับตัวตามรูปคือ Retracement B พอราคาจะวิ่งขึ้นไป Break Out ยอด Segment X ให้คุณเปรียบเทียบขนาดของ Retacement B ว่าขนาดของมันใกล้เคียงกับขนาดของ Retacement A หรือไม่ (ทั้งในแง่ของราคาและเวลา) คือดูว่ามันเป็นการปรับฐานเล็กๆหรือปรับฐานใหญ่นั่นเอง หากขนาดของมันมีขนาดเล็กมากๆเมื่อเทียบกับ Retacement A มันจะเป็นแค่การปรับฐานย่อยๆหรือที่เรียกกันว่าคลื่นย่อยนั่นแหร่ะครับเราก็ ปล่อยมันและรอต่อไป แต่หากรูปแบบ Retacement B มีขนาดโตกว่าการปรับฐานย่อยอย่างเห็นได้ชัดเจน (เส้นประสีแดง) และใกล้เคียงกับ Retacement A ก็ไป Step ที่ 2 ต่อ

(2.1) สาเหตุที่ต้องเปรียบเทียบขนาดของการปรับฐาน (เวลาและราคา) ของ Retracement A และ Retracement B ให้มีขนาดที่ใกล้เคียงกันก็เพื่อเป็นการยืนยันความยาวของส่วนที่มีแนวโน้มใน Time Frame นั้นๆ (Segment Z) อธิบายเพิ่มเติมหากเราใช้การ Break Out ของปรับฐานย่อย (เส้นประสีแดง) ราคาจะไม่สามารถวิ่งยาวได้ถึงตัวเลข 100, 138.2 และ 161.8 ของ Segment X ได้ ฉะนั้นเราต้องเล่นในคลื่นที่มีระดับชั้นเดียวกัน (Degree) จึงจะหาเป้าหมายใน Time Frame นั้นๆได้

3. Step 2 รอให้การปรับตัว Retacement B จบและราคาวิ่งขึ้นไป Break Out ยอด Segment X ขั้นตอนนี้ให้ระวังเท่านั้นอย่าเพิ่งเข้าซื้อ-ขาย เพราะราคามีโอกาสร่วงกลับไปอีกได้ รอการยืนยันจากการปรับฐานย่อยหรือคลื่นย่อยก่อนครับ

4. Step 3 ปล่อยให้ราคาวิ่งจนเกิดการปรับฐานย่อย โดยเปรียบเทียบขนาดจากคลื่นย่อยเส้นประสีแดงในรูป เมื่อราคา Break Out การปรับฐานย่อย ให้ Buy ที่หลัง Break Out ย้ำว่าหลัง Break Out เผื่อแค่ไหนให้กะระยะตามความเหมาะสมในแต่ละ Time Frame จะดีมากๆหากสามารถตั้ง Buy Stop - Sell Stop ใด้

(4.1) การปรับฐานย่อยนั้นบางครั้งอาจต้องลงไปดูใน Time Frame ที่ต่ำกว่าเช่นเราวิเคราะห์ที่ Time Frame 4 ชม. อาจต้องลงไปดูการปรับฐานย่อยที่ Time Frame 1 ชม. เพื่อให้เห็นการปรับตัวชัดเจนเป็นต้น

5. Step 4 ตั้ง TP ใว้ที่ก่อนระดับ 100%, 138.2% และ161.8% ย้ำว่าก่อนระดับ 100%, 138.2%, 161.8% โดยเปรียบเทียบสัดส่วนแบบ Internal Relationships ระหว่าง Segment X กับ Segment Z  อ่าน Internal Relationshipshttp://www.advance-elliottwave.com/index.php/fibo.html อธิบายคือหากราคาทะลุ 100% ไปได้ ให้มองที่ 138.2% และหากทะลุ 138.2% ไปได้อีกเป้าหมายสุดท้ายมองที่ 161.8% ตามลำดับครับ

6. การเล่นหลังระดับ 161.8% ขึ้นไปค่อนข้างที่จะต้องใช้ความรู้ด้าน Elliott Wave เต็มรูปแบบ เพราะเป็นสภาวะที่ตลาดเข้าสู่สภาวะแสดงความอ่อนแอ ซึ่งจากระยะนี้เป็นต้นไปราคาสามารถเป็นไปได้หลากหลาย อาจเปลี่ยนทาง หรือปรับตัวครั้งใหญ่แล้ววิ่งไปตามแนวโน้มเดิมก็ได้

7. Stop Loss ให้ขีดเส้น Trendline ดังรูปโดยเราจะเรียกเส้นนี้ว่า Trendline 0-Y เส้นนี้จะเป็นเส้นที่เราใช้ Stoploss คือหากราคาลงมาแตะหรือตัดเส้น 0-Y นี้เราจะปิดสถานะทันทีไม่ว่าจะกำไรหรือขาดทุนก็ตาม

8. สิ่งสำคัญอีกประการคือการตรวจสอบสภาวะตลาดว่าอยู่ในช่วงใด คุณต้องรู้ตำแหน่งของตัวเองหากเข้าไปอยู่ในตลาดแล้ว สำคัญกว่าคือคุณต้องรู้และอ่านสภาพตลาดให้ขาดก่อนเข้าทำการซื้อ-ขาย โดยศึกษา สภาวะตลาด ให้เข้าใจก่อนในอันดับแรก ในทฤษฎี Briefly Elliott Wave Method นี้จะบอกสภาวะของการเริ่มสร้างแนวโน้มและสภาวะแนวโน้มแข็งแกร่งให้กับคุณ ให้คุณอนุมานเอาว่าหลังระยะ 161.8% เป็นสภาวะที่ 3 คือการแสดงท่าทีหมดแนวโน้ม (บางทีคุณอาจตรวจสอบสัณญาณ Divergence จาก Indicator ที่ตำแหน่งนี้ร่วมด้วยก็เป็นวิธีการที่ดี) บางครั้งคุณอาจพบว่าตำแหน่งปัจจุบันนี้คือเหนือระดับ 138.2% ซึ่งยังอยู่ในสภาวะที่ 2 (แนวโน้มแข็งแกร่ง) ตำแหน่งนี้สามารถเข้าทำการซื้อขายได้แต่เป็นตำแหน่งที่ใกล้จะสิ้นสุดแนวโน้ม แล้ว คุณอาจกำหนดกลยุทธ์แบบวาง Lot Size น้อยๆเก็บระยะสั้นๆโดยลงไปดูใน Time Frame ที่ต่ำกว่าอย่างนี้เป็นต้น หากคุณพบว่าสภาวะอยู่ในตำแหน่งของการเริ่มต้นแนวโน้มสิ่งที่ต้องทำคือรอการ ปรับตัวใน Retracement B ให้จบก่อนเท่านั้น

9. ในการหาเป้าหมายนั้นให้ระวังแนวรับ-แนวต้านที่เป็นสูงเก่า-ต่ำเก่า (High-Low)  และตัวเลขเปอร์เซ็น Retracement 38.2%, 61.8% หากคลื่นปัจจุบันที่คุณเล่นอยู่นี้เป็นคลื่นปรับฐานของคลื่นก่อนหน้า

สรุป คุณต้องทราบตำแหน่งของสถานะในปัจจุบันเพื่อที่จะมี Action กับตลาดได้อย่างเหมาะสม หากคุณรู้สึกมึนงงกับสภาพตลาดที่เป็นอยู่ก็แสดงว่านี่ไม่ใช่โอกาสของคุณอย่า ฝืนลงไปคลุกฝุ่นกับผู้คนในตลาดให้คุณพักสินทรัพย์ตัวนี้เอาใว้ก่อน แล้วไปสังเกตการณ์สินทรัพย์ตัวอื่นๆแทน ตลาดที่ทำกำไรได้คือตลาดที่คุณมองออก มองอย่างเป็นระเบียบและเห็นเป็นระบบ ตลาดที่ยุ่งเหยิงคือตลาดที่ไม่สามารถกำหนดทิศทางได้ผู้คนส่วนใหญ่ในตลาดเอง ก็ยังไม่ทราบว่าจะไปกันทางไหนดีวิ่งชนกันไปมา เหล่านี้จะต้องสะท้อนออกมาทางรูปแบบกราฟราคาทั้งสิ้น... สิ่งที่ต้องทำคือ "รอ" อย่าลงไปเล่นในเกมที่คุณไม่รู้จักมัน...

 

"เข้าใจสภาวะ มีปฏิกริยาอย่างเหมาะสม" ...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น