[Exit Strategy] Article 2 part 1 : My Exit Beliefs
ใน Article 1 เราได้เปรียบเทียบกราฟ 4 แบบที่ต่างกัน เพื่อเปรียบเทียบว่า การออกแบบไหนดี, ทำให้ได้ข้อสรุปมาสองข้อดังนี้
a. ในทุกกรณี, ไม่ว่า กำไรหรือขาดทุน ก็ล้วนเป็นผลมาจาก การเลือกวิธี Stop และ Exit, สำหรับ การเข้าด้วยวิธีหนึ่งวิธี มันกลับมีวิธีออกมากมาย, การออกบางวิธีทำให้กำไร บางวิธีขาดทุน, นี่คือเหตุผลว่า ทำไมเราต้องให้ความสำคัญกับ“การออก” มากกว่า “การเข้า”, แม้ว่าการเข้าก็เป็นส่วนที่สำคัญมากก็ตาม
b. เราไม่มีทางรู้ล่วงหน้า ว่า วิธีออกไหน จะดีที่สุดสำหรับแต่ละออเดอร์, บางครั้ง การตั้ง Stop แคบดีกว่ากว้าง, บางครั้งStop กว้างดีกว่า, ส่วนวิธีออกด้วยกำไร บางครั้งการตั้งเป้าล่วงหน้าดีกว่า และ บางครั้ง Trailing Stop ก็ดีกว่า
ในตอนนี้ ผมจะพูดถึง หลักการและความเชื่อส่วนตัวของผม (Lance Beggs) ที่ผมใช้ในการสร้าง ระบบออกของผม, แต่อย่าเชื่อทำพูดของผมเด็ดขาด จนกว่าจะได้ทสอบด้วยตัวเองก่อน เพราะความเชื่อและวิธีของผม ใช้ได้ดีกับผม แต่อาจจะไม่เข้ากับของคุณ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลทางจิตวิทยาหรือ ทางเทคนิคอลก็ตาม, ฉะนั้น ขอให้ลองทดสอบ ทบทวน และ เลือกเอาส่วนที่เหมาะกับคุณไปใช้งานก็พอ
ภาพของผู้แต่ง (Lance Beggs) อันหล่อเหลานะครับ, เป็นอดีต นายทหาร นักบินขับ ฮ. และ ผู้เชี่ยวชาญ ความปลอดภัยทางด้านการบิน, เขาใช้ความรู้เรื่อง Human Factor, Risk Management, Crew Resource Management ประยุกต์ใช้กับการเทรด,ปัจจุบันเป็นเทรดเดอร์และเจ้าของ www.YourTradingCoach.com
ความเชื่อ #1 : ไม่มีกฎตายตัว สำหรับทุกๆสถานการณ์
ผุ้อ่านชอบอีเมล์ถามผมถึงแผนการออก โดยคาดหวังว่า ผมจะมีสูตรวิเศษ ที่ใช้ได้กับทุกกรณีแบบลักษณะนี้ (Note ผู้แปล: สูตรคณิตศาสตร์ต่อไป เป็นสูตรที่ผู้แต่งสมมติขึ้นมา โดยพยายามทำให้รู้สึกว่าซับซ้อนมากๆ อย่าพยายามแปลหรือทำความเข้าใจจะดีกว่านะครับ ^_^)
“If the standard deviation of the 14 period average true range (ATR) is less than 2/3 of π times the 3 period ATR, then set the stop at 1.8 ATR, else 2.5 ATR. Now set your stop and walk away.”
ซึ่งต้องขอโทษที่ทำให้คุณผิดหวัง เพราะสมการเมื่อกี้ผมมั่วขึ้นมา, ความจริงก็คือ ผมไม่รู้กฏหรือสมการใดๆที่ใช้ได้กับทุกสถานการณ์หรอก, ตามที่เราได้พิสูจน์กันไปในตอนที่แล้ว ว่า ในแต่ละกราฟแต่ละสถานการณ์ จะมีวิธีออกที่ดีแตกต่างกันไป จึงเป็นข่าวดีสำหรับคุณ ว่า ไม่ต้องท่องจำสมการข้างบนของผม
ความเชื่อ #2 : ไม่มีวันที่จะทำให้ “วิธีออก” สมบูรณ์แบบ
มีกรณีตัวอย่างอยู่ ว่า Larry Connors (ผู้แต่งร่วม Street Smarts) ได้พูดถึงเพื่อนของเขา ที่เทรด Futures ได้กำไรกว่า 100 ล้าน USD ว่า เพื่อนคนนั้นรู้สึกว่า จุดอ่อนที่ใหญ่สุดของเขาคือ การที่เขาไม่เคยเชี่ยวชาญวิธีออกของเขาเลย, ฉะนั้น ถ้าคุณเอง ไม่เชี่ยวชาญ วิธีออกของคุณ ก็คงไม่เป็นไรหรอกเนอะ
ผมเองก็ยังไม่เชี่ยวชาญวิธีออกของผมเช่นกัน แต่ผมก็มีความสุขดี และพอใจกับการเทรด 100 ล้าน USD ของผม ด้วยวิธีออกที่ยังไม่สมบูรณ์แบบของผม
คุณต้องยอมรับ “ความไม่สมบูรณ์” และ ต้องอยู่กับมันมากกว่า การไปตามหาผลลัพธ์ในอุดมคติ, เมื่อคุณทดสอบระบบย้อนหลัง ย่อมจะเห็นชัดว่าคุณควรจะออกตรงไหนเป๊ะๆ แต่ยอมรับเถอะว่า ถ้าอยู่ในสถานการณ์จริง ณ ตอนนั้น คุณอาจจะไม่ได้ออกตรงนั้นหรอก ฉะนั้นผลการเทรดจริง มันจะไม่ดีเท่าผลการทดสอบระบบย้อนหลังแน่ๆ, เมื่อเข้าใจว่า การเทรดจริง มักได้กำไรน้อยกว่า ในอุดมคติ คุณก็ควรจะยอมรับ “ความไม่สมบูรณ์” ได้เช่นกัน
ความเชื่อ #3 : การเทรดเสีย จะสร้างความเสียหายที่แท้จริงที่จิตใจ ไม่ใช่ทางด้านการเงิน
ความเสียหายใหญ่หลวง จากการเทรดเสียหนักๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นทางด้านการเงิน แต่อาจไปเสียหายที่จิตใจของคนเทรดมากกว่า,
กรณีแรก : ความเสียหายจาก การบาดเจ็บเพราะ ทนถือออเดอร์ที่มีคัทลอส แต่ถึงเวลาจริงกลับไม่ยอมคัท แบบนี้จะสร้างผลเสียทางจิตวิทยาที่รุงแรง และ ยากมากที่จะฟื้นคืน
กรณีที่สอง : ถ้าคุณออกเร็วไป ได้กำไรเพียงเล็กน้อย จากนั้นกราฟก็วิ่งระเบิดต่อ ปล่อยให้คุณได้แต่นั่งเสียดายว่า นี่อาจจะเป็นกำไรครั้งใหญ่สุดในชิวิต ถ้าไม่ออกเร็วไป, กรณีนี้ความเสียหายไม่ได้เกี่ยวกับการเงินเลย เพราะการอดกำไร ไม่ได้ก่อความเสียหายทางด้านการเงินเลยสักนิด แต่จิตวิทยาของเทรดเดอร์ต่างหากที่ได้รับความเสียหายเต็มๆ
กรณีที่สาม : ถ้าปล่อยให้ออเดอร์ วิ่งจากกำไร กลับมาเท่าทุน ตามด้วยขาดทุน แล้วไปออกที่ Stop Loss, แบบนี้ก็เสียหายด้านการเงินเพียงเล็กน้อยมาก แต่จะได้รับความเสียหายหนักที่จิตวิทยาเช่นกัน
เพราะมนุษย์อย่างเรา ย่อมจะมีความผิดพลาดเป็นธรรมดา ฉะนั้นการจะเทรดแพ้เป็นครั้งคราว เป็นเรื่องปกติ เพียงแต่ต้องไม่ให้มีเหตุการณ์ที่ ไปเสี่ยงเกินกว่า Money Management ในการเทรดแม้แต่ครั้งเดียว (Note ผู้แปล: เข้าใจว่าการเทรดนอกแผนที่วางไว้ ก็เป็นกรณีต้องห้ามเช่นกัน, เช่นไม่ยอมคัทลอสเมื่อถึงเวลาจริง), เพราะการทำเช่นนั้น มันจะเป็นการกัดกร่อนเงินทุน และ ทำให้เราตกอยู่ในภาวะ Draw Down ครั้งใหญ่ได้ ซึ่งจะตามมาด้วย ความเสียหายทางจิตวิทยาที่เกินเยียวยา, สิ่งนี้เองเป็นสิ่งที่ทำให้นักเทรดมือใหม่ล้มหายตายจากออกไปจากตลาดอยู่ตลอดเวลา
--------------------- จบ Article 2 part 1 แปลโดย Rojer FX http://www.facebook.com/rojer.fx.3--------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น