วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

หนังสือน่าอ่าน-Reading Price Chart Bar by Bar

วันนี้มีเวลานั่งหาความรู้ในการเทรด forex ก็มาเจอบทความดี ๆ ที่เจ้าบล็อกใจดี แปลให้อ่าน ขอขอบคุณเจ้าของบล็อก cmforex เป็นอย่างสูงครับ และขออนุญาตนำบทความมาไว้ที่นี่ด้วยน่ะครับ

readingpricechart


บทที่ 1 Price Action

คำว่า Price Action เป็นคำที่เริ่มได้ยินกันมากขึ้นเรื่อยๆในวงการเทรดบ้านเรา เมื่อก่อนเราจะคุ้นเคยกับคำว่าTechnical Analysis และ ตามด้วยคำว่า Indicator, ซึ่ง Indicator เองเป็นระบบที่ง่ายต่อผู้ใช้ แต่ เนื่องจากสัญญาณมันถูกคำนวณจากแท่งเทียนหลายๆแท่ง จึงก่อให้เกิดการ delay เป็นธรรมชาติ, แล้วถ้าไม่อยาก delay จะทำอย่างไรดี ? ก็จะมีTechnical อีกแขนงหนึ่ง ที่จะใช้ ทักษะ การจดจำ รายละเอียดการเคลื่อนไหวของราคา มาใช้ในการตัดสินใจเทรดเลย นั่นก็คือ แขนง Price Action นั่นเอง

ในปัจจุบันยังไม่มีนิยามที่เป็นมาตรฐานของคำว่า Price Action, คำนิยามที่เป็นกลางที่สุดน่าจะเป็นหมายถึง “การเคลื่อนไหวทุกอย่าง ของราคาบนกราฟ”

ซึ่งสาย Price Action เป็นแขนงที่ต้องคอยจดจำรายละเอียดการเคลื่อนไหวด้วยตัวเอง ต้องดูซ้ำๆ จนเริ่มเห็นรูปแบบ และ จำได้ จากนั้นก็ต้องฝึกฝนซ้ำๆอีกให้คล่องแคล่ว จึงใช้เวลา และ อาศัยความพยายามอย่างมาก เหมาะกับ เทรดเดอร์ที่จริงจังมากเท่านั้น ดังที่ปกหนังสือเขียนไว้ว่า “For the serious trader” หากลองเทียบเคียงกับสาย Indicator แล้ว ใช้เวลาเรียนรู้น้อยกว่ามาก และ เห็นสัญญาณชัดเจนเช่น เส้นเขียวตัดเส้นแดงขึ้นก็ให้ซื้อ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เห็นชัดและง่าย, สายIndicator จึงง่ายต่อผู้ที่เทรดใหม่ หรือ ไม่มีเวลาให้กับการเทรดมากนัก

                สาย Price Action เป็นการติดตามการเคลื่อนไหวของราคา ดังนั้นจึงต้องเริ่มจาก สิ่งทีเป็นพื้นฐานที่สุดบนกราฟ นั่นก็คือ ตัวแท่งเทียนนั่นเอง

Trend Bars and Doji Bars

ตลาดมีสองสภาวะใหญ่ๆ คือ เป็นเทรน หรือ ไม่เป็นเทรน (Side way / Trading Range)

หากมองในระดับของแท่งเทียน ก็จะเป็น แท่งเทรน (ขาขึ้น/ขาลง) หรือ แท่ง sideway (Doji)

สำหรับแท่งเทรน ควรจะมีลักษณะที่มีลำตัวแท่งใหญ่พอสมควร ยิ่งลำตัวใหญ่ก็ยิ่งบอกถึงความแข็งแรง

ปกติ ลำตัวแท่งเทียนใหญ่ หมายถึงเทรนที่แข็งแรง แต่ถ้าเป็นแท่งที่ใหญ่มากที่มาหลังจากการเดินทางที่ต่อเนื่องมานาน หรือ การ Break out จะกลับเป็นแท่งหมดแรงแทน ซึ่งจุดนี้เองที่มือใหม่อาจจะไม่เข้าใจ และ ไปซื้อตามน้ำกันตลอด ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดอาการติดดอย หรือ ติดเหวกันบ่อยๆนั่นเอง

ส่วนแท่งเทียน Doji (โดจิ ในภาษาญี่ปุ่น) คือ แท่งเทียนที่มีขนาดลำตัวเล็กมาก หรือบางครั้งอาจจะไม่มีลำตัวเลย (เนื่องจาก ราคาเปิด และ ราคาปิดอยู่ที่เดียวกัน) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงแรงซื้อกับแรงขายที่สมดุลกันนั่นแอง ในภาพ 1.1 แสดงถึงตัวอย่างของแท่งโดจิเอาไว้ ด้วยอักษร D

บางเรื่องที่เราอาจไม่เคยสังเกตเกี่ยวกับ Doji กับ Trend Bar

ในบางกรณี Doji bar อาจจะเป็น Trending-Doji ได้ เช่น ถ้ามันยกตัวขึ้นสูงขึ้นเรื่อยๆ

ซึ่งจะเห็นได้จาก ภาพ 1.2 ด้านขวา TimeFrame 5min จะมีชุดแท่งเทียนโดจิที่ระบุไว้ด้วยเลข 1 ซึ่งเรียงตัวกันยกขึ้นต่อกันสามแท่ง, ส่วนด้านซ้าย TimeFrame 15min แท่งเทียนโดจิสามแท่งนั้นได้รวมตัวกันเป็น Trend Bar ที่ระบุไว้ด้วยเลข 1 นั่นเอง

เหมือนกับที่ โดจิ ไม่ได้หมายถึงว่า จะเป็น sideway เสมอไป, ในบางกรณี แท่งเทรน ก็ไม่ได้หมายถึงว่าเป็นเทรนเสมอไป, สังเกต  แท่งที่ระบุด้วย 1 ในรูป 1.3 (สีขาวใหญ่ แทบไม่มีใส้บนล่าง), ตัวมันเองเป็นแท่งเทรน ที่ดูเหมือนจะ break out ออกมาจาก ชุดโดจิ, แต่หลังจากนั้น ไม่มีแท่งคอนเฟิร์มตามมาเลย, หากเจอกรณีแบบนี้แล้ว เราได้ตามเข้าซื้อขึ้นไป ให้คัทลอส ที่ราคาต่ำกว่า ตัวแท่ง 1 เล็กน้อย นั่นคือเมื่อจบแท่ง 2 ในรูปนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น